เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ G
G ย่อมาจาก Generation
1G - ระบบ Analog
2G - ระบบ Digital
3G - ระบบ Wireless
1G
----------
เริ่มตั้งแต่ 1G ... ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G
แต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่
2G
----------
หลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G ...
ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว
ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site
และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลย ... ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
2.5G
----------
หลังจากนั้น ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่งก็คือ 2.5G ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น
2.75G
----------
เพิ่มนิดนึง ... ก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วย
ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
**แต่ว่า ยุค 2.75G ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอ่ะ**
3G
----------
ต่อมา ... ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น ... เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง
ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On ... คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย
Credit:http://www.thaibsd.com/webboard/show.php?Category=thaibsd&No=6538
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554
ความรู้เรื่อง Internet
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กอง ทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
- มหาวิทยาลัยยูทาห์ - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด |
และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำ หน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อัน เป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้
งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำ หน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อัน เป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้
จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง
ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC - สายโทรศัพท์ทองแดง |
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่าน การหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดย ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดย ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"
หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535 ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)
และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาล ไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปัจจุบันมีผู้ใช้ Internet นับ สิบล้านคนทั่วโลก และ กำลังมีสมาชิกผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งแต่ละคนใช้คอมพิวเตอร์ต่างรุ่นต่างแบบกัน เมื่อเราต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าด้วยกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาษากลาง เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเข้าใจกันได้ ภาษากลางนี้มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า โปรโตคอล (Protocol)โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบน Internet มีชื่อเรียกว่า TCP/IP
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย Internet สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol ( TCP ) และ Internet Protocol ( IP )รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกแบ่ง ออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า Packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกแบ่งออกเป็น Packet ขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ Packet ซึ่งแต่ละ Packet จะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน จากนั้น Packets เหล่านี้ก็จะวิ่งรวมไปกับ Packets ของคนอื่น ๆ ด้วย ทำให้ Packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดต่อกันในสายการเดินทางของข้อมูล Packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (Gateway ) ต่าง ๆ โดยตัว Gateway (อาจเรียก Router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปปลายทางของแต่ละ Packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหนที่ว่างอยู่ Packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง Gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง Gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่น เราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน Gateway ถึง ๑๐ แห่ง เมื่อ Packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา Packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะเรียงต่อกลับคืนให้เป็นข้อมูลสมบูรณ์แบบตามความเป็นจริง
การแบ่งข้อมูลที่ส่งเป็นส่วนย่อยๆ สามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้ เช่น ข้อมูลที่หายไปนั้นจะเป็นข้อมูลเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางที่รอรับข้อมูลสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลส่วนใดที่ หายไป และ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเฉพาะข้อมูลชิ้นที่หายไปเข้ามาใหม่ได้
๑. SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ ในการส่งข้อมูลในระบบ Internet นั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ สายในระบบ LAN ( Local Area Network ) และ ระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมี Protocol เพิ่มเติมขึ้นอีก ได้แก่
๑.๑ SLIP : Serial Line Internet ProtocolProtocol SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งลำเลียงข้อมูลระหว่างระบบ LAN กับระบบ WAN ( Wide Area Network ) ได้ ซึ่งก็ได้รับความนิยม และ เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นำ Protocol นี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโปรโตคอล SLIP นี้อยู่ในตัว และ สามารถใช้งานได้ทันที
๑.๒ PPP : Point-to-Point Protocol เนื่องจากต่อมาพบว่า Protocol SLIPไม่สามารถเข้ากันกับ Protocol บางตัว ที่ระบบ LANนั้น ๆ ใช้อยู่เดิม จึงมีการพัฒนา Protocol ขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น PPP สามารถใช้ร่วมกับ Protocol อื่นๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่มระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และ การบีบอัดข้อมูล
๑.๓ IP Address : หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบ Internet จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันเลย เรียกว่ามี IP Address หรือ Internet Protocol Address เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เมื่อมีการติดต่อสื่อสาร ภาษาสื่อสาร TCP/IP จะกำหนดหมายเลข IP Address ของเครื่องต้นทาง และ ปลายทางกำกับ Packets ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเข้าไปในระบบ เพื่อให้สามารถส่งไปยังที่หมายได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ดังนั้นหากเปรียบเครื่องมือคอมพิวเตอร์เป็นบ้านแต่ละหลัง IP Address ก็คือบ้านเลขที่ของบ้านแต่ละหลังนั่นเองIP Address ประกอบด้วยข้อมูลจำนวน ๓๒ บิต โดยแยกออกเป็น ๔ ส่วน ๆ ละ ๘ บิต โดยแต่ละส่วนจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด ดังนี้
XXXX.XXXX.XXXX.XXXX
ข้อมูล ๘ บิตของแต่ละส่วน จะสามารถแทนด้วยค่าตัวเลข ๒๕๖ ค่า ( ๒๘ ) จาก ๐ ถึง ๒๕๕ และ เนื่องจาก IP Address เป็นข้อมูลแบบ ๓๒ บิต จึงสามารถให้ค่าตัวเลขที่แตกต่างกันได้ถึง ๒๓๒ หรือ เท่ากับ ๔,๒๙๔,๙๖๗,๒๙๖ หมายเลขทีเดียว
อนึ่งเพื่อมิให้ IP Address ของแต่ละเครื่องไม่ซ้ำกัน จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานที่จะดูแลจัดสรร และ ควบคุมการใช้ IP Address หน่วยงานนี้มีเรียกว่า InterNIC ( Internet Network Information Center ) ดังนั้นทุกเครื่องที่ต่อตรงเข้ากับระบบ Internet จะต้องขอหมายเลข IP Address จากหน่วยงานนี้
อีเมล์ ( E-mail ) ย่อมาจากคำว่า Electronics Mail ซึ่งก็แปลเป็นไทยได้ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง อีเมล์เป็นสิ่งที่ส่งระหว่างผู้หนึ่งไปถึงผู้หนึ่งในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลาเดินทางถึงผู้รับในเวลาไม่กี่นาที เร็วกว่าการส่งจดหมายแบบปกตินับพันนับหมื่นเท่า จึงน่าจะเป็นวิธีการสื่อสารที่มาแทนการส่งจดหมายได้อย่างดี จากสถิติของประเทศไทย พบว่าอีเมล์มีผลทำให้การส่งไปรษณีย์ระหว่างประเทศลดลงถึง ๕๐ % ภายในเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา คงพอจะเห็นอิทธิพลของอีเมล์ว่าน่าจะทดแทนการส่งจดหมายในอนาคตได้ไม่ยากนัก อีเมล์ ไม่ใช่ส่งได้แค่ข้อความเท่านั้น แต่ยังส่งไฟล์ ( Attach File ) ไปได้ด้วย ทำให้สามารถส่งภาพ และ เสียงไปพร้อมกับอีเมล์ได้ แต่ทุก ๆ อย่างต้องอยู่ในรูปไฟล์ของคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่อง จากระบบอีเมล์เป็นการส่งระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีก เครื่องหนึ่งนอกจากนี้อีเมล์สามารถจะส่งบนเครือข่ายภายในองค์กร ( หรือที่นิยมเรียกกันว่า LAN ) หรือ จะส่งผ่าน Internet ก็ได้ แต่อีเมล์ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นอีเมล์ที่ส่งกันใน Internet ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมาก หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐานโดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหมดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหมดอื่น ๆ
ข้อเสีย ที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบ จุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดย วิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อน ข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
- ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
- ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
- ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
- ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
หมายถึง ลักษณะหรือรูปทรงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ในเครือข่าย แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1) แบบดาว (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจายคือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่น เชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์ คอมพิวเตอร์เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดใน เครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์เวลาที่มีสายเส้น ใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดย รวมแต่อย่างใดอย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้นอกจากนี้หากต้องการ เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปใน เครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว
2) แบบบัส (Bus Network)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียวซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อม กัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน
นอกจากนี้การขยายระบบของเครือข่ายก็สามารถกระทำได้ง่าย เพราะเพียงแต่นำอุปกรณ์ใหม่มาต่อพ่วงกับบัสเท่านั้นก็สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้ทันทีและประการสำคัญหากเครื่องลูกข่ายภายในระบบตัวใดตัวหนึ่งเกิดมีปัญหาไม่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้ในขณะนั้นก็จะไม่ทำให้ทั้ง
ระบบหยุดชะงักหรือขาดการติดต่อสื่อสารลงไปทั้งระบบสถานีแต่ละสถานีไม่มีปัญหายังคงติดต่อสื่อสารภายในระบบกันได้อย่างไม่มีปัญหา
3) แบบวงแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้น เดียวเป็นวงแหวนคอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิดทำให้การส่งข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียวกันตลอด โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่อง ต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไปจนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับไม่ส่งต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระหากมีตัวใดตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้ายๆกับแบบบัสคือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควรนอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อน เช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ
IP address
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น
มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด 32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address
รหัสหมายเลขไอพีประจำเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายจะมีรหัสหมายเลขประจำเครื่อง รหัสหมายเลขนี้เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ตัว เลขไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกัน ตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์การนำไปปฏิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องการทำการขอหมายเลขประจำเครือ-ข่ายเพื่อกำหนด ส่วนขยายต่อสำหรับแต่ละเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับอิเล็ก ทรอนิกส์เมลของเครือข่างองค์กร มีหมายเลขไอพีเป็นตัวเลขประจำเครื่อง ขนาด ๓๒ บิต ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ฟิลด์ดังตัวอย่างเช่น
แต่ละฟิลด์จะมี ๘ ชนิด แต่เมื่อเรียกขานรหัสหมายเลขไอพีนี้ จะใช้ตัวเลขฐานสิบ แบ่งเป็น ๔ ชุด โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ดังนั้น จากตัวเลข ๓๒ บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น
ตัวเลขไบนารี ๓๒ หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อกำหนดตัวเลข ๔ ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๒๕๕ เมื่อนำมาเรียงกันแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น
รหัสหมายเลขไอพีประจำเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายจะมีรหัสหมายเลขประจำเครื่อง รหัสหมายเลขนี้เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ตัว เลขไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกัน ตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์การนำไปปฏิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องการทำการขอหมายเลขประจำเครือ-ข่ายเพื่อกำหนด ส่วนขยายต่อสำหรับแต่ละเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับอิเล็ก ทรอนิกส์เมลของเครือข่างองค์กร มีหมายเลขไอพีเป็นตัวเลขประจำเครื่อง ขนาด ๓๒ บิต ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ฟิลด์ดังตัวอย่างเช่น
แต่ละฟิลด์จะมี ๘ ชนิด แต่เมื่อเรียกขานรหัสหมายเลขไอพีนี้ จะใช้ตัวเลขฐานสิบ แบ่งเป็น ๔ ชุด โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ดังนั้น จากตัวเลข ๓๒ บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น
ตัวเลขไบนารี ๓๒ หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อกำหนดตัวเลข ๔ ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๒๕๕ เมื่อนำมาเรียงกันแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น
บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card
เครือข่ายมีหมายเลขประจำ
การแบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น ๔ ฟิลด์นั้นตัวเลขที่ประกอบอยู่เป็นตัวเลขของเครือข่ายด้วยเช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้รหัส 158.108 นำหน้า เครือข่ายของบริษัท
ไอบีเอ็มที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลกใช้รหัส ๙.นำหน้า เครือข่ายของบริษัทเอทีแอนด์ทีใช้รหัสหมายเลขไอพีเป็น 12 นำหน้า ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายเลข 192.150.249.นำหน้า เป็นต้น
เนื่องจากเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมากดังนั้น จึงมีการกำหนดวิธีการแบ่งประเภทของเครือข่ายออกเป็นหลายคลาส คือ คลาส A คลาส B และคลาส C เป็นต้น
คลาส A กำหนดตัวเลขฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีก ๓ ฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องหรือรหัสเครือข่ายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย คลาส Bกำหนดตัวเลข ๒ ฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่อง ๒ ฟิลด์ คลาส C กำหนดตัวเลขไว้ ๓ฟิลด์ จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
เมื่อพิจารณาตัวเลขรหัสไอพีใดๆหากตัวเลขฟิลด์แรกขึ้นต้นระหว่าง ๑-๑๒๖ ก็จะเป็นคลาส Aถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๒๘-๑๙๑ ก็จะเป็นคลาส B และถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๙๒-๒๒๓ ก็จะเป็นคลาส C
ทางองค์กรบริหารเครือข่ายจะเป็นผู้กำหนดหมายเลขเครือข่ายนี้ให้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การกำหนดหมายเลขไอพีใช้วิธีกำหนดให้เรียงกันไปใครมาขอลงทะเบียนก่อน ก็จะให้เลขน้อยเรียง ตามลำดับเวลาที่ขอ และเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะรวดเร็วเช่นนี้ หมายเลขไอพีคงจะเต็มพิกัดครบทุกคลาสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่ายก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว โดยเพิ่มขยายหมายเลขไอพีให้มีจำนวนฟิลด์มากขึ้น
Class ของแต่ละ IP Address ดังตาราง การแบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น ๔ ฟิลด์นั้นตัวเลขที่ประกอบอยู่เป็นตัวเลขของเครือข่ายด้วยเช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้รหัส 158.108 นำหน้า เครือข่ายของบริษัท
ไอบีเอ็มที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลกใช้รหัส ๙.นำหน้า เครือข่ายของบริษัทเอทีแอนด์ทีใช้รหัสหมายเลขไอพีเป็น 12 นำหน้า ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายเลข 192.150.249.นำหน้า เป็นต้น
เนื่องจากเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมากดังนั้น จึงมีการกำหนดวิธีการแบ่งประเภทของเครือข่ายออกเป็นหลายคลาส คือ คลาส A คลาส B และคลาส C เป็นต้น
คลาส A กำหนดตัวเลขฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีก ๓ ฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องหรือรหัสเครือข่ายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย คลาส Bกำหนดตัวเลข ๒ ฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่อง ๒ ฟิลด์ คลาส C กำหนดตัวเลขไว้ ๓ฟิลด์ จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
เมื่อพิจารณาตัวเลขรหัสไอพีใดๆหากตัวเลขฟิลด์แรกขึ้นต้นระหว่าง ๑-๑๒๖ ก็จะเป็นคลาส Aถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๒๘-๑๙๑ ก็จะเป็นคลาส B และถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๙๒-๒๒๓ ก็จะเป็นคลาส C
ทางองค์กรบริหารเครือข่ายจะเป็นผู้กำหนดหมายเลขเครือข่ายนี้ให้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การกำหนดหมายเลขไอพีใช้วิธีกำหนดให้เรียงกันไปใครมาขอลงทะเบียนก่อน ก็จะให้เลขน้อยเรียง ตามลำดับเวลาที่ขอ และเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะรวดเร็วเช่นนี้ หมายเลขไอพีคงจะเต็มพิกัดครบทุกคลาสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่ายก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว โดยเพิ่มขยายหมายเลขไอพีให้มีจำนวนฟิลด์มากขึ้น
Class | IP Address | Network Address | Host Address |
A | w.x.y.z | w | x.y.z |
B | w.x.y.z | w.x | y.z |
C | w.x.y.z | w.x.y | z |
Domain name และการกำหนอชื่อ WWW
โด เมนเนม ( Domain Name) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเจ้าโดเมนเนมที่แท้จริง เราจะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่าง ก่อนเริ่มตั้งแต่คำว่า WWW หรือ World Wide Web หรือ Web หรือ W3 ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใครๆเข้ามาสึกษาค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูล สำหรับนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้าจาก ห้องสมุด WWW ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วๆ ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นประมาณ Electronic Library หรือ e-library นั่นเอง และที่สำคัญคือ ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว ดังนั้นถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่นๆ ให้อีกหาอยู่ที่ e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ
ฉะนั้น โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งาน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอิน เทอร์เน็ต
ส่วนประกอบของโดเมนเนม โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
สับโดเมนเนม เป็น “ คำ” ที่อยู่ก่อนชื่อโดเมนเนม เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนในเว็บไซต์ ซึ่งปกติแล้วมักใช้เป็น WWW ตัวสับโดเมนนี่เป็นของฟรี ไม่มีสับโดเมนอยู่ในตาต้าเบส (Database) ของโลก ไม่ว่าจะใน Network Solution หรือ Thnic ให้ระวังคนหัวใสไปหลอกขาย โดยบอกว่าจะให้ชื่อ yourcompany. « « « .com อย่างที่เคยเห็นอยู่บ่อยๆ เราอาจจะได้เห็นการสับบ่อยของโดเมนเนมในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ www. « « « .com /yourcompany ซึ่งทั้งสองแบบนี้ คือจะไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังก็จะได้ความหมายเหมือนกัน คือเป็นสับโดเมนย่อยอยู่ภายใต้โดเมนเนม « « « .com ตรงนี้
ในการสร้างสับย่อยๆ ในสับโดเมนเพิ่มขึ้นนั้น ปกติจะไม่ค่อยเสียค่าใช้จ่าย แต่บางครั้งก็อาจจะต้องมีการตั้งค่าหรือเซตอัพบางอย่างที่ยุ่งยากบ้าง ทางบริษัทที่รับทำอาจคิดค่าใช้จ่ายเป็นค่าเซตอัพแทน แต่ก็ไม่แพงมาก อย่างเช่น ถ้าเสียค่าจดโดเมนเนม 1,500 บาท ค่าเซตอัพก็จะประมาณไม่เกิน 1,000 บาท บางบริษัทอาจจะทำให้ฟรี
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของ เว็บไซต์หรือผู้จดทะเบียน แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าชื่อตรงนี้ต้องไม่ซ้ำกันกับคนอื่นๆ เพราะจะทำให้เครื่องสับสนว่าจะเข้าในเว็บไซต์ไหนแน่ การตั้งชื่อตรงนี้มีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักโด่ง ดังไปทั่วโลกเพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะรู้จัก หรือรู้จักสินค้าและบริการของเว็บไซต์คุณ ลองเปรียบเทียบดูว่าถ้าเราต้องการไปเดินซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ถ้าเราไปซื้อตามร้านหนังสือจากความเคยชินเราก็จะเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นร้าน ดอกหญ้า หรือร้านนายอินทร์ เพราะเรามาเดินบ่อย แต่ถ้าเป็นในโลกของอินเทอร์เน็ต เราจะเดินไปได้เราต้องรู้จัก URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการเข้าไปดู ดังนั้นซึ่งเราจะมองไม่เห็นชื่อร้านว่าเป็นร้านดอกหญ้า ซึ่งร้านหนังสือที่ประสบผลสำเร็จในการจำหน่ายหนังสือผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต ได้แก่ Amazon.com เว็บไซต์ Amazon.com นี่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2538 และเป็นร้านหนังสือรายแรกบนอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันมียอดขายสูงสุดถึงปีละหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว
เว็บไซด์ที่ประสบความสำเร็จในโลกอินเทอร์เน็ตจะต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกได้นั้น เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “ ชื่อ” ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทำให้ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถจดจำได้ดี หลักการตั้งชื่อที่มีดังนี้
1.) ง่ายต่อการจดจำ คือ ต้องเป็นชื่อที่จำง่าย นึกถึงอยู่เสมอ เหมือนกับเวลาจะคุณต้องการทานสุกี้ก็ต้องนึกถึง “MK” เป็นต้น คือพยายามมองโลกให้เหมือนกับคนอื่นๆ ให้มากๆ เข้าไว้ เพราะถ้าเราไปคำนึงถึงคำยากๆ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงจะทำให้คนเข้าไปถึงเว็บไซต์ของเราได้น้อย
2.) สั้นและกะทัดรัดชัดเจน คือ ชื่อเว็บไซต์ที่สั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการตั้งชื่อบนอินเทอร์ เน็ตก็ได้ ถามยังสำคัญกว่า การตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ตเสียด้วย เพราะถ้าคุณต้องพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ก็เหตุผลที่ว่าทำไมชื่อเว็บควรสั้นๆ และกระชับ ลองมาดูตัวอย่างชื่อเว็บไซต์อย่างเช่น www.ebusinessisbusiness.com อ่านๆ ดูแล้วจำไม่ง่ายเลย ใช้เวลาพิมพ์ในการพิมพ์นานมากมีโอกาสผิด ถ้าสั้นและกระชับแล้ว ชื่อที่ตั้งก็ควรได้ใจความด้วย อย่างเว็บไซต์ เช่น www.mycom.com ก็สั้น กระชับ เพราะจะทำให้คนที่เข้ามาใช้งานสามารถที่จะจดจำชื่อของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
3.) สะกดง่ายไม่ซับซ้อน ควรเลือกคำที่ทำให้เกิดการผิดพลาดในการพิมพ์น้อยที่สุด ประเภทที่ต้องมี S หรือไม่มี S หรือมี – หรือ /วุ่นวาย เพราะถ้าไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง ไม่ค่อยมีใครมานั่งจำหรอกว่าต้องตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก มีขีดบน ขีดกลางหรือขีดล่าง เขามักจะพิมพ์ชื่อที่นึกขึ้นมาให้ก่อน ถ้าหาไม่เจอก็มักเปลี่ยนไปที่อื่นแทน ไม่สนใจ
4.) มีความหมายเข้าใจชัดเจน หมายความว่า คำที่จะนำมาใช้เป็นชื่อต้องสื่อถึงเว็บของเราไว้ว่าจุดมุ่งหมายหลักคืออะไร เช่น เป็นเว็บไซต์สำหรับจำหน่ายสินค้า ก็ควรจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับจำหน่ายสินค้า หรือทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับหนังสือหรือใกล้เคียงกันอยู่บ้างเพราะเวลาค้นหา จะได้ค้นหาได้ง่ายๆ
5.) ชื่อสะดุดตาง่ายต่อการจดจำ ที่คนรู้จักกันทั่วโลกว่าเช่น www.amazon.com ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต หรือ www.google.com เป็นผู้นำในส่วนเว็บไซต์ค้นหาทั้งหมดในโลกและอื่นๆ คุณเห็นอะไรในชื่อเหล่านี้ มันไม่ได้สื่อความหมายอะไรมากมาย แต่เป็นชื่อที่จำง่ายและสะดุดตาคน อ่านหรือได้ยินหรือให้คนอ่านเข้าใจง่าย นี้ก็มักจะทำให้ชื่อเว็บของเราอยู่ในใจของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain Top Domain จะมีอยู่ 2 ประเภท อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือ อย่างที่เป็น .co.th กับ แบบที่เป็น .com ซึ่งความจริงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้ สามารถเป็นแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับตัวอย่างแรกที่เป็น .co.th จะเป็นหลักษณะของการบอกประเภทของเว็บไซต์ของเรา และบอกรหัสประเทศ หรือ Country Code อีก 2 ตัวอักษรซึ่งมีได้หลายแบบ เช่น
.co ย่อมาจาก Commercial เป็นบริษัทหรือองค์กรที่ทำการค้าหวังกำไร
.ac ย่อมาจาก Acdemy เป็นสถาบันการศึกษาต่างๆ
.or ย่อมาจาก Organization เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาโดยไม่หวังผลกำไร
.go ย่อมาจาก Government เป็นหน่วยงานของรัฐบาล
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th คือ ประเทศไทย
* .cn คือ ประเทศจีน
* .uk คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การ ขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
.ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
Web Browser
Web Browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลัง ข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประวัติความเป็นมาของ Web browser
ทิม เบอร์เนอร์ส ลี แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ Hypertext โปรแกรมค้นดูเว็บตัวแรกมีชื่อ ว่า เวิลด์ไวด์เว็บ แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์ แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกาได้คิดโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นดูเว็บเชิงกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสกก็ได้ออกไปเปิดบริษัท Netscape
วีดีโอประกอบเรื่อง Web Browser
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1.อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2.คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3.ความเร็วของสายที่ใช้
4.พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
ความรู้เรื่อง search engine
Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
Keyword (คีย์เวิร์ด)
Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น ดังนั้น Keyword คีย์เวิร์ด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Keyword นี้จะเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำตัว ของหน้าเว็บเพจหรือเรื่องนั้น ๆ
Search Engine มี 3 ประเภท
Search Engine มี3ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง 3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com
Crawler Based Search Engine ได้แก่
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูลของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันน เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกันให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือมีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกันจึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร
การใช้งาน Search Engine มี 9 เทคนิค
เทคนิคที่ 1 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงเนื้อหา
1.) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยล้วนๆ
สมมติ ว่าคุณจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรกที่เรานึกถึงได้ทันทีก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่ผมคิดว่าคำสำคัญเพียงคำเดียวก็ดูจะกว้างไป และในบางครั้งผลการค้นหาก็มากมายหลายสิบหน้า ถ้าเราจะเปิดอ่านทุกลิงก์ทุกหน้าก็คงไม่ดีแน่ ดังนั้นเราจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงตามที่เราต้องการ สมมติว่าคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้ก็ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก คราวนี้สังเกตผลการค้นหาที่ได้ คุณจะพบว่าผลการค้นหามีจำนวนน้อยลง คราวนี้ก็สะดวกที่เราจะเลือกลิงก์ที่ต้องการได้ เช่นดังรูปจาก ภาพประกอบ 1 ในกรอบรูปวงรี คุณจะเห็นได้ว่าผลการค้นหามีทั้งหมด 343 ผลลัพธ์ แต่เมื่อเพิ่มคำสำคัญเข้าไปอีกเพียงคำเดียวซึ่งก็คือคำว่า “กรีก” ในภาพประกอบ 2 ก็จะทำให้ผลการค้นหาลดลงเหลือเพียงผลลัพธ์เดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้จำนวนผลลัพธ์ที่ลดน้อยลงไม่อาจประกันได้ว่าเราจะได้ข้อมูลอย่าง ที่คาดหวังไว้
2.) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ
ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกแต่เป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรกที่น่าจะใช้ได้ก็คือ greek mathematician แต่ผมมีข้อสังเกตของการใช้เว็บไซต์ http://www.google.co.th/ และ search engine หลายๆ ตัวในอินเทอร์เน็ต คือ ในการค้นหาข้อมูลที่ใช้คำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ (รวมทั้งภาษาไทยด้วย) ถ้าเราใช้เครื่องหมาย “ ” (double quote) คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆ ก็ตาม ผลการค้นหาอาจแตกต่างกันเล็กน้อยซึ่งเป็นรายละเอียดทางเทคนิค ผมจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้ ในกรณีนี้คำสำคัญว่า greek mathematician (คำว่า greek แล้วเว้นวรรคจากนั้นตามด้วยคำว่า mathematician) อาจให้ผลการค้นหาที่ต่างจากคำสำคัญ “greek mathematician” และที่สำคัญอีกอย่างก็คือตัวอักษรใหญ่เล็กที่ต่างกันก็อาจจะให้ผลการค้นหา ที่ต่างกันได้อีกเช่นกัน ดังรูป3.) คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน
search engine บางแห่งอาจค้นไม่พบข้อมูลที่ต้องการเมื่อใช้คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยกับภาษา อังกฤษปนกัน แต่อย่างไรก็ตามผมพบว่าเว็บไซต์ http://www.google.co.th ไม่มีปัญหากับคำสำคัญที่เป็นแบบ 2 ภาษาปนกัน สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้ากระแส คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้ 1) ไฟฟ้ากระแสตรง “direct current”
2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
3) “direct current” เนื้อหา (ดังรูป)
2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
3) “direct current” เนื้อหา (ดังรูป)
เทคนิคที่ 2 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงรูปแบบของไฟล์
ในการค้นหาข้อมูลนั้น บางครั้งเราอาจต้องการเจาะจงรูปแบบของไฟล์เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ต้องการนำไฟล์นั้นไปใช้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หรือว่านำไปใช้ประกอบการทำรายงาน หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในการนำเสนอผลงาน ซึ่ง search engine บางแห่งไม่สนับสนุนรูปแบบไฟล์อื่นๆ นอกจากไฟล์เว็บเพ็จที่มีนามสกุล (Extension) เป็น *.html หรือ *.htm แต่เว็บไซต์ http://www.google.co.th สนับสนุนไฟล์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจาก *.html หรือ *.htm ได้แก่ *.doc (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Word), *.xls (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel), *.ppt (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint) และไฟล์ *.pdf (Portable Document Format) ซึ่งเปิดอ่านได้จากโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Adobe Acrobat Reader เป็นต้น
สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับกรด – เบสที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf และไม่จำกัดภาษา คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้
1) acid base pdf
2) “acid-base” pdf
3) “Aqueous Equillibria” lecture notes pdf
4) สมดุลกรด – เบส pdf
5) กรด – เบส pdf
6) กรด เบส pdf
1) acid base pdf
2) “acid-base” pdf
3) “Aqueous Equillibria” lecture notes pdf
4) สมดุลกรด – เบส pdf
5) กรด – เบส pdf
6) กรด เบส pdf
เทคนิคที่ 3 หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือเครื่องหมายบางประเภทประกอบในคำสำคัญ
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะไม่รวมเอาคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คำบุพบท คำสันธานในภาษาอังกฤษ เช่น a , an , the , on ฯลฯ เข้าไว้ในการค้นหา ถ้าหากว่าต้องการให้คำสรรพนามชี้เฉพาะ หรือคำยกเว้นต่างๆ รวมอยู่ในการค้นหาด้วย ผมแนะนำว่าให้ใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำเฉพาะนั้น
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะไม่รวมเอาคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คำบุพบท คำสันธานในภาษาอังกฤษ เช่น a , an , the , on ฯลฯ เข้าไว้ในการค้นหา ถ้าหากว่าต้องการให้คำสรรพนามชี้เฉพาะ หรือคำยกเว้นต่างๆ รวมอยู่ในการค้นหาด้วย ผมแนะนำว่าให้ใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำเฉพาะนั้น
เทคนิคที่ 4 หลีกเลี่ยงการใช้คำสำคัญที่มีความยาวเกินไป
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะแสดงผลการค้นหาในทำนองว่า “ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ” เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้นก็คือการใช้คำสำคัญ ที่ยาวเกินไป สมมติว่าคุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “การแยกตัวประกอบของพหุนาม” แต่ปรากฏว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ เราก็เปลี่ยนคำสำคัญใหม่โดยการแตกคำสำคัญที่ยาวๆ นั้นให้สั้นลง แล้วใช้วิธีการเว้นวรรค หรือใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำสำคัญคู่ใดคู่หนึ่งแทน ในกรณีนี้ก็อาจเปลี่ยนไปใช้คำว่า “พหุนาม” “แยกตัวประกอบ” ก็ได้
เทคนิคที่ 5 การค้นหาข้อมูลที่เป็นราชทินนาม, ฐานันดรศักดิ์, บรรดาศักดิ์, ชื่อบุคคล
ในบางครั้งถ้าหากเราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในพระบรมราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ของขุนนาง ชื่อของบุคคล เป็นต้น เราอาจพบว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ สาเหตุประการหนึ่งก็คือคำสำคัญที่ยาวเกินไป ในกรณีนี้เทคนิคที่ 4 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการค้นหาชื่อบุคคล เราก็สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคที่ 4 ได้อีกเช่นกันโดยการแยกส่วนที่เป็นชื่อกับนามสกุลออกจากกัน เช่น ต้องการหาข้อมูลของ “ทักษิณ ชินวัตร” สมมติว่า search engine ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับ “ทักษิณ ชินวัตร” หรือพบแต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการก็เลี่ยงไปใช้คำสำคัญ “ทักษิณ” “ชินวัตร” แทนอย่างนี้เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามผมมีข้อสังเกตว่าการใช้คำสำคัญติดกันโดยการคร่อมด้วยเครื่อง หมาย “ ” ก็อาจให้ทางเลือกที่ดีกว่าในการค้นหาและคัดเลือกข้อมูลโดยตัวเราเอง
เทคนิคที่ 6 ตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้อง
สาเหตุหนึ่งที่ search engine ไม่พบข้อมูลที่ต้องการหรือผลการค้นหาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็คือการสะกดคำ ที่ไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้คำสำคัญภาษาต่างประเทศที่ใช้วิธีเขียนทับ ศัพท์เป็นภาษาไทยไปเลย หรือในกรณีคำสำคัญที่เป็นภาษาต่างประเทศ ก็คือตกตัวสะกดไปตัวหนึ่งหรือเขียนผิดไปตัวหนึ่งก็ทำให้ผลการค้นหาคลาด เคลื่อนได้เช่นกัน
เทคนิคที่ 7 การใช้ search engine เป็นเครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
ในบางครั้งถ้าเราต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่งแต่เราไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ว่าเว็บไซต์นั้นมี URL (Uniform Resource Locator) ว่าอย่างไร สมมติว่าคุณต้องการเข้ามายังเว็บไซต์ sudipan.net แต่ปรากฏว่าเราลืม URL ของเว็บนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือใช้คำสำคัญซึ่งเป็นชื่อที่เรานึกออกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของชื่อเว็บไซต์นั้น ซึ่งในกรณีนี้สมมติผมใช้คำสำคัญว่า “sudipan” ก็จะได้ผลการค้นหาเป็นทุกๆ เว็บเพ็จที่มีคำว่า sudipan แต่เป้าหมายของเราคือต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ใช่หาข้อมูล เกี่ยวกับ sudipan เราก็เลือกที่ลิงก์แรกซึ่งมี URL คือ http://www.sudipan.net นั่นเอง
เทคนิคที่ 8 การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
search engine หลายแห่งสามารถใช้คำในวิชาตรรกศาสตร์มาช่วยคัดเลือกข้อมูลได้ โดยจะเป็นผลให้จำนวนผลการค้นหาลดน้อยลงหรือเป็นไปตามที่เราคาดหวังมากขึ้น ซึ่งคำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้มีดังต่อไปนี้ AND OR NOT สำหรับวิธีการใช้งานอย่างคร่าวๆ มีดังนี้
1.) AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ เช่น “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน
2.) OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับ คำว่า OR เช่น “physics” OR “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า physics หรือ mechanics คำใดคำหนึ่งก็ได้
3.) NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT เช่น mathematics NOT calculus หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า mathematics แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย
หมายเหตุ เทคนิคที่ 8 นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยได้ด้วย
เทคนิคที่ 9 การ search โดยระบุที่จะ search เฉพาะเวปหนึ่งๆ
เติมคำว่า site:แล้วตามด้วยเวปที่เราต้องการค้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาเฉพาะในเวปนั้นๆ เช่นจะเข้าไปฟังเพลงในเวป ก็สามารถหาได้โดย my best friend site:bignose.exteen.com
การทำงานของ Search Engine ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบันการออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้า ก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามาแล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้วการกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูลดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไรมีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
Search Engine ของไทย
- http://www.thailandtravelsearch.com
- http://www.sanook.com
- http://www.thaishop.com
- http://www.thaiseek.com
- http://www.nectec.or.th/WWW-VL-Thailand.html
- http://www.infothailand.com
- http://www.lemononline.com
- http://www.thailander.com
- http://www.hunsa.com
- http://www.cnet.net.th
- http://www.siamguru.com
- http://www.siaminside.com
- http://search.asiaco.com/Thailand
- http://www.bannok.com
- http://www.thaibuz.com
- http://www.thaiger.com
- http://www.thaifind.com
- http://www.chiangmai-online.com
GOOGLE
GOOGLE ( www. google.com) เป็น Search Engine ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ๆ ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในเรื่องของความเร็วในการค้นหา ความถูกต้องของข้อมูล และความลึกในการค้นหาข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้คุณเลือกไม่ถูกว่าอันไหนคือข้อมูลที่คุณต้องการจริง ๆ เบื้องหลังของฉากหน้าที่ดูเรียบง่าย GOOGLE ได้มีการปรับแต่งระบบและกลไกในการค้นหา ให้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมาย มีหลากหลายภาษา เพื่อให้รองรับกับการใช้งานตามลักษณะของแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย จะใช้ http://www.google.co.th/
GOOGLE ( www. google.com) เป็น Search Engine ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ๆ ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในเรื่องของความเร็วในการค้นหา ความถูกต้องของข้อมูล และความลึกในการค้นหาข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้คุณเลือกไม่ถูกว่าอันไหนคือข้อมูลที่คุณต้องการจริง ๆ เบื้องหลังของฉากหน้าที่ดูเรียบง่าย GOOGLE ได้มีการปรับแต่งระบบและกลไกในการค้นหา ให้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมาย มีหลากหลายภาษา เพื่อให้รองรับกับการใช้งานตามลักษณะของแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย จะใช้ http://www.google.co.th/
ระบบของโปรแกรม Google
กูเกิลเก็บข้อมูลเว็บโดยการส่งโปรแกรมเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เรียกว่า สไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot) ชนิด หนึ่ง สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง ระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า เพจแรงก์ (PageRank) ได้จดสิทธิบัตรใน พ.ศ. 2544
หลักการทำงาน
เว็บคราวเลอร์ ( Web Crawler) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เว็บสไปเดอร์ ( Web Spider ) หรือ เว็บโรบอท ( Web Robot ) เป็นโปรแกรมที่ทำงานด้วยตัวเอง โดยจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น เก็บ E-mail Address ( เพื่อนำไปใช้สแปมอีเมล์ ) เว็บ คราวเลอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั่วไปและมีการวิจัยกันมากคือ ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับระบบ เสิร์จเอนจิ้น โดยเว็บคราวเลอร์ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ในการทำดัชนี ทำเป็นระบบเสิร์จเอนจิ้นต่อไป
หลักการทำงานของเว็บคราวเลอร์แบบพื้นฐานคือ การเริ่มต้นดาวน์โหลดเว็บเพจจากยูอาร์แอลเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Seed URLs ยู อาร์แอลเริ่มต้นอาจจะเป็นชุดของ ยูอาร์แอลหรือยูอาร์แอลเดียวก็ได้ เมื่อเว็บคราวเลอร์ดาวน์โหลดหน้าเอกสารเว็บเพจจากยูอาร์แอลที่ดาวน์โหลดมา แล้ว เว็บคราวเลอร์จะทำการวิเคราะห์ หายูอาร์แอลลิงค์ทั้งหมดในหน้าเว็บเพจนั้น เพื่อนำไปใช้ดาวน์โหลดเก็บข้อมูล ทำวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ
หลักการทำงานของเว็บคราวเลอร์แบบพื้นฐานคือ การเริ่มต้นดาวน์โหลดเว็บเพจจากยูอาร์แอลเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Seed URLs ยู อาร์แอลเริ่มต้นอาจจะเป็นชุดของ ยูอาร์แอลหรือยูอาร์แอลเดียวก็ได้ เมื่อเว็บคราวเลอร์ดาวน์โหลดหน้าเอกสารเว็บเพจจากยูอาร์แอลที่ดาวน์โหลดมา แล้ว เว็บคราวเลอร์จะทำการวิเคราะห์ หายูอาร์แอลลิงค์ทั้งหมดในหน้าเว็บเพจนั้น เพื่อนำไปใช้ดาวน์โหลดเก็บข้อมูล ทำวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ
วีดีโอเกี่ยวกับ Search Engine ของ Google กับ Search Engine ของคนไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)