Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
Keyword (คีย์เวิร์ด)
Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น ดังนั้น Keyword คีย์เวิร์ด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Keyword นี้จะเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำตัว ของหน้าเว็บเพจหรือเรื่องนั้น ๆ
Search Engine มี 3 ประเภท
Search Engine มี3ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง 3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com
Crawler Based Search Engine ได้แก่
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูลของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันน เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกันให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือมีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกันจึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร
การใช้งาน Search Engine มี 9 เทคนิค
เทคนิคที่ 1 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงเนื้อหา
1.) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยล้วนๆ
สมมติ ว่าคุณจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรกที่เรานึกถึงได้ทันทีก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่ผมคิดว่าคำสำคัญเพียงคำเดียวก็ดูจะกว้างไป และในบางครั้งผลการค้นหาก็มากมายหลายสิบหน้า ถ้าเราจะเปิดอ่านทุกลิงก์ทุกหน้าก็คงไม่ดีแน่ ดังนั้นเราจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงตามที่เราต้องการ สมมติว่าคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้ก็ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก คราวนี้สังเกตผลการค้นหาที่ได้ คุณจะพบว่าผลการค้นหามีจำนวนน้อยลง คราวนี้ก็สะดวกที่เราจะเลือกลิงก์ที่ต้องการได้ เช่นดังรูปจาก ภาพประกอบ 1 ในกรอบรูปวงรี คุณจะเห็นได้ว่าผลการค้นหามีทั้งหมด 343 ผลลัพธ์ แต่เมื่อเพิ่มคำสำคัญเข้าไปอีกเพียงคำเดียวซึ่งก็คือคำว่า “กรีก” ในภาพประกอบ 2 ก็จะทำให้ผลการค้นหาลดลงเหลือเพียงผลลัพธ์เดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้จำนวนผลลัพธ์ที่ลดน้อยลงไม่อาจประกันได้ว่าเราจะได้ข้อมูลอย่าง ที่คาดหวังไว้
2.) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ
ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกแต่เป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรกที่น่าจะใช้ได้ก็คือ greek mathematician แต่ผมมีข้อสังเกตของการใช้เว็บไซต์ http://www.google.co.th/ และ search engine หลายๆ ตัวในอินเทอร์เน็ต คือ ในการค้นหาข้อมูลที่ใช้คำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ (รวมทั้งภาษาไทยด้วย) ถ้าเราใช้เครื่องหมาย “ ” (double quote) คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆ ก็ตาม ผลการค้นหาอาจแตกต่างกันเล็กน้อยซึ่งเป็นรายละเอียดทางเทคนิค ผมจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้ ในกรณีนี้คำสำคัญว่า greek mathematician (คำว่า greek แล้วเว้นวรรคจากนั้นตามด้วยคำว่า mathematician) อาจให้ผลการค้นหาที่ต่างจากคำสำคัญ “greek mathematician” และที่สำคัญอีกอย่างก็คือตัวอักษรใหญ่เล็กที่ต่างกันก็อาจจะให้ผลการค้นหา ที่ต่างกันได้อีกเช่นกัน ดังรูป3.) คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน
search engine บางแห่งอาจค้นไม่พบข้อมูลที่ต้องการเมื่อใช้คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยกับภาษา อังกฤษปนกัน แต่อย่างไรก็ตามผมพบว่าเว็บไซต์ http://www.google.co.th ไม่มีปัญหากับคำสำคัญที่เป็นแบบ 2 ภาษาปนกัน สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้ากระแส คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้ 1) ไฟฟ้ากระแสตรง “direct current”
2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
3) “direct current” เนื้อหา (ดังรูป)
2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
3) “direct current” เนื้อหา (ดังรูป)
เทคนิคที่ 2 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงรูปแบบของไฟล์
ในการค้นหาข้อมูลนั้น บางครั้งเราอาจต้องการเจาะจงรูปแบบของไฟล์เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ต้องการนำไฟล์นั้นไปใช้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หรือว่านำไปใช้ประกอบการทำรายงาน หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในการนำเสนอผลงาน ซึ่ง search engine บางแห่งไม่สนับสนุนรูปแบบไฟล์อื่นๆ นอกจากไฟล์เว็บเพ็จที่มีนามสกุล (Extension) เป็น *.html หรือ *.htm แต่เว็บไซต์ http://www.google.co.th สนับสนุนไฟล์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจาก *.html หรือ *.htm ได้แก่ *.doc (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Word), *.xls (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel), *.ppt (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint) และไฟล์ *.pdf (Portable Document Format) ซึ่งเปิดอ่านได้จากโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Adobe Acrobat Reader เป็นต้น
สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับกรด – เบสที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf และไม่จำกัดภาษา คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้
1) acid base pdf
2) “acid-base” pdf
3) “Aqueous Equillibria” lecture notes pdf
4) สมดุลกรด – เบส pdf
5) กรด – เบส pdf
6) กรด เบส pdf
1) acid base pdf
2) “acid-base” pdf
3) “Aqueous Equillibria” lecture notes pdf
4) สมดุลกรด – เบส pdf
5) กรด – เบส pdf
6) กรด เบส pdf
เทคนิคที่ 3 หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือเครื่องหมายบางประเภทประกอบในคำสำคัญ
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะไม่รวมเอาคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คำบุพบท คำสันธานในภาษาอังกฤษ เช่น a , an , the , on ฯลฯ เข้าไว้ในการค้นหา ถ้าหากว่าต้องการให้คำสรรพนามชี้เฉพาะ หรือคำยกเว้นต่างๆ รวมอยู่ในการค้นหาด้วย ผมแนะนำว่าให้ใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำเฉพาะนั้น
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะไม่รวมเอาคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คำบุพบท คำสันธานในภาษาอังกฤษ เช่น a , an , the , on ฯลฯ เข้าไว้ในการค้นหา ถ้าหากว่าต้องการให้คำสรรพนามชี้เฉพาะ หรือคำยกเว้นต่างๆ รวมอยู่ในการค้นหาด้วย ผมแนะนำว่าให้ใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำเฉพาะนั้น
เทคนิคที่ 4 หลีกเลี่ยงการใช้คำสำคัญที่มีความยาวเกินไป
search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะแสดงผลการค้นหาในทำนองว่า “ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ” เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้นก็คือการใช้คำสำคัญ ที่ยาวเกินไป สมมติว่าคุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “การแยกตัวประกอบของพหุนาม” แต่ปรากฏว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ เราก็เปลี่ยนคำสำคัญใหม่โดยการแตกคำสำคัญที่ยาวๆ นั้นให้สั้นลง แล้วใช้วิธีการเว้นวรรค หรือใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำสำคัญคู่ใดคู่หนึ่งแทน ในกรณีนี้ก็อาจเปลี่ยนไปใช้คำว่า “พหุนาม” “แยกตัวประกอบ” ก็ได้
เทคนิคที่ 5 การค้นหาข้อมูลที่เป็นราชทินนาม, ฐานันดรศักดิ์, บรรดาศักดิ์, ชื่อบุคคล
ในบางครั้งถ้าหากเราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในพระบรมราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ของขุนนาง ชื่อของบุคคล เป็นต้น เราอาจพบว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ สาเหตุประการหนึ่งก็คือคำสำคัญที่ยาวเกินไป ในกรณีนี้เทคนิคที่ 4 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการค้นหาชื่อบุคคล เราก็สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคที่ 4 ได้อีกเช่นกันโดยการแยกส่วนที่เป็นชื่อกับนามสกุลออกจากกัน เช่น ต้องการหาข้อมูลของ “ทักษิณ ชินวัตร” สมมติว่า search engine ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับ “ทักษิณ ชินวัตร” หรือพบแต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการก็เลี่ยงไปใช้คำสำคัญ “ทักษิณ” “ชินวัตร” แทนอย่างนี้เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามผมมีข้อสังเกตว่าการใช้คำสำคัญติดกันโดยการคร่อมด้วยเครื่อง หมาย “ ” ก็อาจให้ทางเลือกที่ดีกว่าในการค้นหาและคัดเลือกข้อมูลโดยตัวเราเอง
เทคนิคที่ 6 ตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้อง
สาเหตุหนึ่งที่ search engine ไม่พบข้อมูลที่ต้องการหรือผลการค้นหาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็คือการสะกดคำ ที่ไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้คำสำคัญภาษาต่างประเทศที่ใช้วิธีเขียนทับ ศัพท์เป็นภาษาไทยไปเลย หรือในกรณีคำสำคัญที่เป็นภาษาต่างประเทศ ก็คือตกตัวสะกดไปตัวหนึ่งหรือเขียนผิดไปตัวหนึ่งก็ทำให้ผลการค้นหาคลาด เคลื่อนได้เช่นกัน
เทคนิคที่ 7 การใช้ search engine เป็นเครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
ในบางครั้งถ้าเราต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่งแต่เราไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ว่าเว็บไซต์นั้นมี URL (Uniform Resource Locator) ว่าอย่างไร สมมติว่าคุณต้องการเข้ามายังเว็บไซต์ sudipan.net แต่ปรากฏว่าเราลืม URL ของเว็บนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือใช้คำสำคัญซึ่งเป็นชื่อที่เรานึกออกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของชื่อเว็บไซต์นั้น ซึ่งในกรณีนี้สมมติผมใช้คำสำคัญว่า “sudipan” ก็จะได้ผลการค้นหาเป็นทุกๆ เว็บเพ็จที่มีคำว่า sudipan แต่เป้าหมายของเราคือต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ใช่หาข้อมูล เกี่ยวกับ sudipan เราก็เลือกที่ลิงก์แรกซึ่งมี URL คือ http://www.sudipan.net นั่นเอง
เทคนิคที่ 8 การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
search engine หลายแห่งสามารถใช้คำในวิชาตรรกศาสตร์มาช่วยคัดเลือกข้อมูลได้ โดยจะเป็นผลให้จำนวนผลการค้นหาลดน้อยลงหรือเป็นไปตามที่เราคาดหวังมากขึ้น ซึ่งคำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้มีดังต่อไปนี้ AND OR NOT สำหรับวิธีการใช้งานอย่างคร่าวๆ มีดังนี้
1.) AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ เช่น “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน
2.) OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับ คำว่า OR เช่น “physics” OR “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า physics หรือ mechanics คำใดคำหนึ่งก็ได้
3.) NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT เช่น mathematics NOT calculus หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า mathematics แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย
หมายเหตุ เทคนิคที่ 8 นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยได้ด้วย
เทคนิคที่ 9 การ search โดยระบุที่จะ search เฉพาะเวปหนึ่งๆ
เติมคำว่า site:แล้วตามด้วยเวปที่เราต้องการค้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาเฉพาะในเวปนั้นๆ เช่นจะเข้าไปฟังเพลงในเวป ก็สามารถหาได้โดย my best friend site:bignose.exteen.com
การทำงานของ Search Engine ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบันการออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้า ก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามาแล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้วการกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูลดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไรมีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
Search Engine ของไทย
- http://www.thailandtravelsearch.com
- http://www.sanook.com
- http://www.thaishop.com
- http://www.thaiseek.com
- http://www.nectec.or.th/WWW-VL-Thailand.html
- http://www.infothailand.com
- http://www.lemononline.com
- http://www.thailander.com
- http://www.hunsa.com
- http://www.cnet.net.th
- http://www.siamguru.com
- http://www.siaminside.com
- http://search.asiaco.com/Thailand
- http://www.bannok.com
- http://www.thaibuz.com
- http://www.thaiger.com
- http://www.thaifind.com
- http://www.chiangmai-online.com
GOOGLE
GOOGLE ( www. google.com) เป็น Search Engine ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ๆ ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในเรื่องของความเร็วในการค้นหา ความถูกต้องของข้อมูล และความลึกในการค้นหาข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้คุณเลือกไม่ถูกว่าอันไหนคือข้อมูลที่คุณต้องการจริง ๆ เบื้องหลังของฉากหน้าที่ดูเรียบง่าย GOOGLE ได้มีการปรับแต่งระบบและกลไกในการค้นหา ให้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมาย มีหลากหลายภาษา เพื่อให้รองรับกับการใช้งานตามลักษณะของแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย จะใช้ http://www.google.co.th/
GOOGLE ( www. google.com) เป็น Search Engine ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ๆ ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในเรื่องของความเร็วในการค้นหา ความถูกต้องของข้อมูล และความลึกในการค้นหาข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้คุณเลือกไม่ถูกว่าอันไหนคือข้อมูลที่คุณต้องการจริง ๆ เบื้องหลังของฉากหน้าที่ดูเรียบง่าย GOOGLE ได้มีการปรับแต่งระบบและกลไกในการค้นหา ให้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมาย มีหลากหลายภาษา เพื่อให้รองรับกับการใช้งานตามลักษณะของแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย จะใช้ http://www.google.co.th/
ระบบของโปรแกรม Google
กูเกิลเก็บข้อมูลเว็บโดยการส่งโปรแกรมเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เรียกว่า สไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot) ชนิด หนึ่ง สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง ระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า เพจแรงก์ (PageRank) ได้จดสิทธิบัตรใน พ.ศ. 2544
หลักการทำงาน
เว็บคราวเลอร์ ( Web Crawler) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เว็บสไปเดอร์ ( Web Spider ) หรือ เว็บโรบอท ( Web Robot ) เป็นโปรแกรมที่ทำงานด้วยตัวเอง โดยจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น เก็บ E-mail Address ( เพื่อนำไปใช้สแปมอีเมล์ ) เว็บ คราวเลอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั่วไปและมีการวิจัยกันมากคือ ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับระบบ เสิร์จเอนจิ้น โดยเว็บคราวเลอร์ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ในการทำดัชนี ทำเป็นระบบเสิร์จเอนจิ้นต่อไป
หลักการทำงานของเว็บคราวเลอร์แบบพื้นฐานคือ การเริ่มต้นดาวน์โหลดเว็บเพจจากยูอาร์แอลเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Seed URLs ยู อาร์แอลเริ่มต้นอาจจะเป็นชุดของ ยูอาร์แอลหรือยูอาร์แอลเดียวก็ได้ เมื่อเว็บคราวเลอร์ดาวน์โหลดหน้าเอกสารเว็บเพจจากยูอาร์แอลที่ดาวน์โหลดมา แล้ว เว็บคราวเลอร์จะทำการวิเคราะห์ หายูอาร์แอลลิงค์ทั้งหมดในหน้าเว็บเพจนั้น เพื่อนำไปใช้ดาวน์โหลดเก็บข้อมูล ทำวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ
หลักการทำงานของเว็บคราวเลอร์แบบพื้นฐานคือ การเริ่มต้นดาวน์โหลดเว็บเพจจากยูอาร์แอลเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Seed URLs ยู อาร์แอลเริ่มต้นอาจจะเป็นชุดของ ยูอาร์แอลหรือยูอาร์แอลเดียวก็ได้ เมื่อเว็บคราวเลอร์ดาวน์โหลดหน้าเอกสารเว็บเพจจากยูอาร์แอลที่ดาวน์โหลดมา แล้ว เว็บคราวเลอร์จะทำการวิเคราะห์ หายูอาร์แอลลิงค์ทั้งหมดในหน้าเว็บเพจนั้น เพื่อนำไปใช้ดาวน์โหลดเก็บข้อมูล ทำวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ
วีดีโอเกี่ยวกับ Search Engine ของ Google กับ Search Engine ของคนไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น