วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง search engine


Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
Keyword (คีย์เวิร์ด
Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น ดังนั้น Keyword คีย์เวิร์ด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Keyword นี้จะเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำตัว ของหน้าเว็บเพจหรือเรื่องนั้น ๆ



Search Engine มี 3 ประเภท
Search Engine มี3ประเภท  โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง 3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ

ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots

ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com

 
Crawler Based Search Engine ได้แก่
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูลของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันน เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า Search Engine คืออะไรผ่านทั้ง 5 แห่งที่ให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกันให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory  
1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือมีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกันจึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร

การใช้งาน Search Engine มี 9 เทคนิค
เทคนิคที่ 1 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงเนื้อหา
1.) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยล้วนๆ
            สมมติ ว่าคุณจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรกที่เรานึกถึงได้ทันทีก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่ผมคิดว่าคำสำคัญเพียงคำเดียวก็ดูจะกว้างไป และในบางครั้งผลการค้นหาก็มากมายหลายสิบหน้า  ถ้าเราจะเปิดอ่านทุกลิงก์ทุกหน้าก็คงไม่ดีแน่ ดังนั้นเราจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงตามที่เราต้องการ สมมติว่าคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้ก็ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก คราวนี้สังเกตผลการค้นหาที่ได้ คุณจะพบว่าผลการค้นหามีจำนวนน้อยลง คราวนี้ก็สะดวกที่เราจะเลือกลิงก์ที่ต้องการได้ เช่นดังรูป

จาก ภาพประกอบ 1 ในกรอบรูปวงรี   คุณจะเห็นได้ว่าผลการค้นหามีทั้งหมด 343 ผลลัพธ์  แต่เมื่อเพิ่มคำสำคัญเข้าไปอีกเพียงคำเดียวซึ่งก็คือคำว่า  กรีก”  ในภาพประกอบ 2   ก็จะทำให้ผลการค้นหาลดลงเหลือเพียงผลลัพธ์เดียวเท่านั้น  แต่ทั้งนี้จำนวนผลลัพธ์ที่ลดน้อยลงไม่อาจประกันได้ว่าเราจะได้ข้อมูลอย่าง ที่คาดหวังไว้

2.) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ
            ในทำนองเดียวกัน  ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกแต่เป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรกที่น่าจะใช้ได้ก็คือ greek mathematician แต่ผมมีข้อสังเกตของการใช้เว็บไซต์ http://www.google.co.th/ และ search engine หลายๆ ตัวในอินเทอร์เน็ต คือ ในการค้นหาข้อมูลที่ใช้คำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ (รวมทั้งภาษาไทยด้วย) ถ้าเราใช้เครื่องหมาย “ ” (double quote) คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆ ก็ตาม ผลการค้นหาอาจแตกต่างกันเล็กน้อยซึ่งเป็นรายละเอียดทางเทคนิค ผมจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้ ในกรณีนี้คำสำคัญว่า greek mathematician (คำว่า greek แล้วเว้นวรรคจากนั้นตามด้วยคำว่า mathematician) อาจให้ผลการค้นหาที่ต่างจากคำสำคัญ “greek mathematician” และที่สำคัญอีกอย่างก็คือตัวอักษรใหญ่เล็กที่ต่างกันก็อาจจะให้ผลการค้นหา ที่ต่างกันได้อีกเช่นกัน ดังรูป

3.) คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน 
            search engine  บางแห่งอาจค้นไม่พบข้อมูลที่ต้องการเมื่อใช้คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยกับภาษา อังกฤษปนกัน  แต่อย่างไรก็ตามผมพบว่าเว็บไซต์    http://www.google.co.th        ไม่มีปัญหากับคำสำคัญที่เป็นแบบ 2 ภาษาปนกัน  สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้ากระแส  คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้ 1) ไฟฟ้ากระแสตรง  “direct current”
2)
“direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
3)
“direct current” เนื้อหา (ดังรูป)


เทคนิคที่ 2 การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงรูปแบบของไฟล์
            ในการค้นหาข้อมูลนั้น บางครั้งเราอาจต้องการเจาะจงรูปแบบของไฟล์เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ต้องการนำไฟล์นั้นไปใช้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์   หรือว่านำไปใช้ประกอบการทำรายงาน   หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในการนำเสนอผลงาน  ซึ่ง search engine  บางแห่งไม่สนับสนุนรูปแบบไฟล์อื่นๆ นอกจากไฟล์เว็บเพ็จที่มีนามสกุล (Extension)  เป็น *.html หรือ *.htm แต่เว็บไซต์ http://www.google.co.th สนับสนุนไฟล์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจาก *.html หรือ *.htm  ได้แก่  *.doc (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Word), *.xls (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel), *.ppt (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint) และไฟล์ *.pdf (Portable Document Format) ซึ่งเปิดอ่านได้จากโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Adobe Acrobat Reader  เป็นต้น
            สมมติว่าคุณต้องการไฟล์บทเรียนเกี่ยวกับกรด เบสที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf และไม่จำกัดภาษา   คำสำคัญที่อาจจะใช้ได้มีดังต่อไปนี้
1) acid base  pdf
2) “acid-base” pdf
3) “Aqueous Equillibria” lecture notes pdf
4) สมดุลกรด เบส pdf
5) กรด เบส pdf
6) กรด เบส pdf

เทคนิคที่ 3 หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือเครื่องหมายบางประเภทประกอบในคำสำคัญ
            search engine ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง http://www.google.co.th มักจะไม่รวมเอาคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คำบุพบท คำสันธานในภาษาอังกฤษ เช่น a , an , the , on ฯลฯ เข้าไว้ในการค้นหา ถ้าหากว่าต้องการให้คำสรรพนามชี้เฉพาะ หรือคำยกเว้นต่างๆ รวมอยู่ในการค้นหาด้วย ผมแนะนำว่าให้ใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมคำเฉพาะนั้น

เทคนิคที่ 4 หลีกเลี่ยงการใช้คำสำคัญที่มีความยาวเกินไป
            search engine  ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึง   http://www.google.co.th  มักจะแสดงผลการค้นหาในทำนองว่า ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ”   เนื่องจากสาเหตุหลายประการ   โดยหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้นก็คือการใช้คำสำคัญ ที่ยาวเกินไป  สมมติว่าคุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ     “การแยกตัวประกอบของพหุนามแต่ปรากฏว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ  เราก็เปลี่ยนคำสำคัญใหม่โดยการแตกคำสำคัญที่ยาวๆ นั้นให้สั้นลง  แล้วใช้วิธีการเว้นวรรค หรือใช้เครื่องหมาย  “  ”  คร่อมคำสำคัญคู่ใดคู่หนึ่งแทน  ในกรณีนี้ก็อาจเปลี่ยนไปใช้คำว่า  “พหุนาม”  “แยกตัวประกอบ”  ก็ได้
เทคนิคที่ 5 การค้นหาข้อมูลที่เป็นราชทินนาม, ฐานันดรศักดิ์, บรรดาศักดิ์, ชื่อบุคคล
            ในบางครั้งถ้าหากเราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในพระบรมราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ของขุนนาง ชื่อของบุคคล  เป็นต้น  เราอาจพบว่าไม่มีข้อมูลที่ต้องการ  สาเหตุประการหนึ่งก็คือคำสำคัญที่ยาวเกินไป  ในกรณีนี้เทคนิคที่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการค้นหาชื่อบุคคล  เราก็สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคที่ 4 ได้อีกเช่นกันโดยการแยกส่วนที่เป็นชื่อกับนามสกุลออกจากกัน เช่น ต้องการหาข้อมูลของ  “ทักษิณ  ชินวัตร”  สมมติว่า  search engine  ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับ ทักษิณ ชินวัตรหรือพบแต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการก็เลี่ยงไปใช้คำสำคัญ  “ทักษิณ”  “ชินวัตร”  แทนอย่างนี้เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามผมมีข้อสังเกตว่าการใช้คำสำคัญติดกันโดยการคร่อมด้วยเครื่อง หมาย  “  ”   ก็อาจให้ทางเลือกที่ดีกว่าในการค้นหาและคัดเลือกข้อมูลโดยตัวเราเอง
เทคนิคที่ 6 ตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้อง
สาเหตุหนึ่งที่  search engine ไม่พบข้อมูลที่ต้องการหรือผลการค้นหาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็คือการสะกดคำ ที่ไม่ถูกต้อง  ในกรณีนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้คำสำคัญภาษาต่างประเทศที่ใช้วิธีเขียนทับ ศัพท์เป็นภาษาไทยไปเลย หรือในกรณีคำสำคัญที่เป็นภาษาต่างประเทศ ก็คือตกตัวสะกดไปตัวหนึ่งหรือเขียนผิดไปตัวหนึ่งก็ทำให้ผลการค้นหาคลาด เคลื่อนได้เช่นกัน   
เทคนิคที่ 7 การใช้ search engine เป็นเครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
            ในบางครั้งถ้าเราต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่งแต่เราไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ว่าเว็บไซต์นั้นมี URL (Uniform Resource Locator) ว่าอย่างไร  สมมติว่าคุณต้องการเข้ามายังเว็บไซต์ sudipan.net แต่ปรากฏว่าเราลืม URL ของเว็บนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือใช้คำสำคัญซึ่งเป็นชื่อที่เรานึกออกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของชื่อเว็บไซต์นั้น ซึ่งในกรณีนี้สมมติผมใช้คำสำคัญว่า “sudipan” ก็จะได้ผลการค้นหาเป็นทุกๆ เว็บเพ็จที่มีคำว่า sudipan แต่เป้าหมายของเราคือต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ใช่หาข้อมูล เกี่ยวกับ sudipan เราก็เลือกที่ลิงก์แรกซึ่งมี URL คือ http://www.sudipan.net นั่นเอง 
เทคนิคที่ 8 การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
           search engine หลายแห่งสามารถใช้คำในวิชาตรรกศาสตร์มาช่วยคัดเลือกข้อมูลได้ โดยจะเป็นผลให้จำนวนผลการค้นหาลดน้อยลงหรือเป็นไปตามที่เราคาดหวังมากขึ้น ซึ่งคำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้มีดังต่อไปนี้  AND  OR  NOT  สำหรับวิธีการใช้งานอย่างคร่าวๆ  มีดังนี้ 
            1.) AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ เช่น  “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน
            2.) OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับ คำว่า OR เช่น  “physics”  OR  “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า  physics  หรือ  mechanics คำใดคำหนึ่งก็ได้
            3.) NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า  NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT     เช่น  mathematics  NOT  calculus  หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า  mathematics  แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus  อยู่ด้วย
หมายเหตุ เทคนิคที่ 8 นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยได้ด้วย
เทคนิคที่ 9 การ search โดยระบุที่จะ search เฉพาะเวปหนึ่งๆ
            เติมคำว่า site:แล้วตามด้วยเวปที่เราต้องการค้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาเฉพาะในเวปนั้นๆ เช่นจะเข้าไปฟังเพลงในเวป ก็สามารถหาได้โดย my best friend site:bignose.exteen.com

การทำงานของ Search Engine  ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน

๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบันการออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้า ก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด


 ๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามาแล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้วการกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูลดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไรมีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ


ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
        1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
        2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
        3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
        4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
        5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย


Search Engine ของไทย
  1. http://www.thailandtravelsearch.com
  2. http://www.sanook.com
  3. http://www.thaishop.com
  4. http://www.thaiseek.com
  5. http://www.nectec.or.th/WWW-VL-Thailand.html
  6. http://www.infothailand.com
  7. http://www.lemononline.com
  8. http://www.thailander.com
  9. http://www.hunsa.com
  10. http://www.cnet.net.th
  11. http://www.siamguru.com
  12. http://www.siaminside.com
  13. http://search.asiaco.com/Thailand
  14. http://www.bannok.com
  15. http://www.thaibuz.com
  16. http://www.thaiger.com
  17. http://www.thaifind.com
  18. http://www.chiangmai-online.com

Search Engine ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน


GOOGLE
             GOOGLE  ( www. google.com) เป็น Search Engine ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ๆ ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในเรื่องของความเร็วในการค้นหา ความถูกต้องของข้อมูล และความลึกในการค้นหาข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้คุณเลือกไม่ถูกว่าอันไหนคือข้อมูลที่คุณต้องการจริง ๆ  เบื้องหลังของฉากหน้าที่ดูเรียบง่าย  GOOGLE ได้มีการปรับแต่งระบบและกลไกในการค้นหา ให้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมาย มีหลากหลายภาษา เพื่อให้รองรับกับการใช้งานตามลักษณะของแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย จะใช้ http://www.google.co.th/
ระบบของโปรแกรม Google
            กูเกิลเก็บข้อมูลเว็บโดยการส่งโปรแกรมเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เรียกว่า สไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot) ชนิด หนึ่ง สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง ระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า เพจแรงก์ (PageRank) ได้จดสิทธิบัตรใน พ.ศ. 2544
หลักการทำงาน
            เว็บคราวเลอร์ ( Web Crawler) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เว็บสไปเดอร์ ( Web Spider ) หรือ เว็บโรบอท ( Web Robot ) เป็นโปรแกรมที่ทำงานด้วยตัวเอง โดยจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น เก็บ E-mail Address ( เพื่อนำไปใช้สแปมอีเมล์ ) เว็บ คราวเลอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั่วไปและมีการวิจัยกันมากคือ ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับระบบ เสิร์จเอนจิ้น โดยเว็บคราวเลอร์ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ในการทำดัชนี ทำเป็นระบบเสิร์จเอนจิ้นต่อไป
            หลักการทำงานของเว็บคราวเลอร์แบบพื้นฐานคือ การเริ่มต้นดาวน์โหลดเว็บเพจจากยูอาร์แอลเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Seed URLs ยู อาร์แอลเริ่มต้นอาจจะเป็นชุดของ ยูอาร์แอลหรือยูอาร์แอลเดียวก็ได้ เมื่อเว็บคราวเลอร์ดาวน์โหลดหน้าเอกสารเว็บเพจจากยูอาร์แอลที่ดาวน์โหลดมา แล้ว เว็บคราวเลอร์จะทำการวิเคราะห์ หายูอาร์แอลลิงค์ทั้งหมดในหน้าเว็บเพจนั้น เพื่อนำไปใช้ดาวน์โหลดเก็บข้อมูล ทำวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ


วีดีโอเกี่ยวกับ Search Engine ของ Google กับ Search Engine ของคนไทย

ความรู้เรื่อง Youtube

           YouTube (ยูทูบ) เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด ฯลฯ
         YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตที่ มียอดผู้ชมวิดีโอของทางเว็บไซต์ทะลุหลัก 100 ล้านครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นราว 29 เปอร์เซ็นต์ของยอดการเปิดดูคลิปวิดีโอทั้งหมดในสหรัฐฯ ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง
          สถิติจาก Nielsen/NetRatings ซึ่งเป็นผู้นำวิจัยการตลาดและสื่ออินเตอร์ระดับโลกระบุว่า ปัจจุบัน YouTube มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน นอกจากนี้ ในปี 2006 นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เว็บไซต์ YouTube เว็บไซต์ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอชื่อดัง เป็น "Invention of the Year" หรือรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งปี อีกด้วย

ความเป็ํนมา

  Chad Hurley, Steve Chen, Jawed
            เว็บไซต์ YouTube ก่อตั้งขึ้นวันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ 2005  โดยมีอดีตพนักงานของ PayPal สามคนคือ Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้ง (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปแล้ว) แต่ต่อมา Jawed Karim ได้ออกจาก YouTube เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Standford  YouTube มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองซานมาทีโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 67 คน 
             YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไปอย่างรวดเร็ว  YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทาง YouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามกรณีพิพาทกับสถานี โทรทัศน์เอ็นบีซีก็ได้ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก
             ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2006   google ได้ตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของ google  การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและ เข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง 

ข้อมูลเชิงเทคนิค

ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ แมโครมีเดีย แฟลช 7 และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263

รูปแบบวิดีโอ

ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ แมโครมีเดีย แฟลช 7 และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263 แฟลชเป็นโปรแกรมเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรือขนาดที่แสดงผลเต็มจอ
ยูทูบแปลงไฟล์วิดีโอเป็นไฟล์ในลักษณะ แฟลชวิดีโอ ในนามสกุล .FLV ภายหลังจากผู้ใช้ได้อัปโหลดเข้าไป ไม่ว่าผู้อัปโหลดจะโหลดในลักษณะ .WMV .AVI .MOV .3GP MPEG หรือ .MP4

รูปแบบเสียง

ไฟล์ในยูทูบเก็บในลักษณะสตรีมไฟล์ MP3 โดยมีการเข้ารหัสแบบโมโนที่ 65 กิโลบิต/วินาที ที่ 22,050 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ตามยูทูบสามารถเก็บไฟล์เสียงในลักษณะสเตอริโอได้หากมีการแปลงเป็น ไฟล์ FLV ก่อนที่ทำการอัปโหลด

การแสดงผล

วิดีโอในยูทูบสามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์แฟลชที่กล่าวมา ดูได้ผ่านแอปเปิลทีวี ไอโฟน ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากนี้ยูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีการนำรหัสไปใส่เชื่อม โยงกลับมาที่เว็บยูทูบเอง เห็นได้ตามเว็บบอร์ด และ Blog หรือ เว็บไซค์ต่างๆ
นอกจากนี้สามารถเซฟไฟล์ยูทูบเก็บไว้ในเครื่องของตนเองได้โดยใช้งาน ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น เช่น Keepvid หรือผ่านสคริปต์จาก Greasemonkey โดยจะมีไฟล์เป็นนามสกุล .flv


ประโยชน์ของ Youtube
            Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้จากทั่วโลกเพื่อโพสต์การสร้างภาพ ของตัวเองและสิ่งที่พวกเขาได้บันทึกไว้ในการเริ่มต้นกับ Youtube คุณสามารถชมวิดีโอในฐานะแขกหรือถ้าคุณกำลังมองหาที่อัพโหลดสร้างบัญชี กระบวนการสร้างบัญชีง่ายมากและคุณสามารถมีวิดีโอที่อัปโหลดในเวลาไม่กี่ นาที  ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรของ Youtube ช่วยให้คุณสามารถสร้างชื่อและแก้ไขวิดีโอต่างๆที่ชื่นชอบของคุณ  
            ประโยชน์ของการใช้ Youtube เมื่อเทียบกับไซต์วิดีโออื่น ๆ เป็นห้องว่างเนื้อหา เป็นเว็บไซต์ที่ง่ายมากที่จะใช้ที่มีวิดีโอพร้อมที่จะดูที่คลิกปุ่ม กับ การพัฒนาของเทคโนโลยีและกระบวนการของวิดีโอถูกพึ่งต่ออินเตอร์เน็ตความเร็ว การเชื่อมต่อของคุณ, YouTube ได้สร้างความสามารถในการข้ามไปยังส่วนหนึ่งของวิดีโอที่คุณต้องการจะดูโดย ไม่ต้องอดทนรอสักครู่ในการโหลดครั้งแรกหรือ ส่วนสุดท้ายของวิดีโอ  นอกจากนี้ยังง่ายในการชมเทคโนโลยีวิดีโอง่ายที่จะอัปโหลดขั้นตอนการสร้าง ประโยชน์หลายประการเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่น ๆ  อัปโหลดเป็นง่ายๆเป็นตำแหน่งของเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณและคลิกอัพ โหลด Youtube ไม่ทั้งหมดของส่วนที่เหลือสำหรับคุณด้วยการสร้างชื่อและภาพรวมทั่วไป  
            ประโยชน์ของการใช้ Youtube ก็คือความสามารถในการถ่ายทอดไปยังผู้ชมนับล้านที่ สามารถใช้ได้ในเกือบทุกประเทศในโลกและคอมพิวเตอร์ที่มีบริการเชื่อมต่ออิน เทอร์เน็ตใด ๆ และสามารถเข้าชมในแต่ละวันโดยผู้คนนับล้านได้รับข้อความ หรือการแพร่ตัวเองออกไปยังผู้ชมนับล้านคนสามารถทำได้ง่ายเพียงแค่การสร้าง ภาพจากนั้นใช้เทคโนโลยีการอัปโหลดของ Youtube แล้วการตลาดออกวิดีโอของคุณในล้านของแฟน YouTube ประโยชน์ด้านการใช้ Youtube เป็นความสามารถของเว็บไซต์   ผู้ใช้ที่สร้างแชเนลวิดีโอที่นำเสนอที่น่าสนใจพอที่จะรับเป็นล้าน ๆ มักจะได้รับการดูแท็กที่ดูมากที่สุดใน Youtube ที่สามารถนำไปสู่การเป็นจำนวนเงินที่มากมายของโอกาสด้านนอกของเว็บไซต์หลาย ๆ ตัวเงินตาม
            ประโยชน์อีกด้านหนึ่งของการใช้ YouTube ก็ฉายภาพตัวเองออกไปยังผู้ชมนับล้านคนและเป็นที่ยอมรับอย่างง่ายดาย Youtube ได้รับผลิตภัณฑ์ของหลายชื่อเสียงระดับต่ำชื่อเสียงและได้รับการเพาะปลูกใน การทำ nobodies เป็นใครสักคนโดยไม่เรียกเก็บเงินจากรูปแบบของราคาใด ๆ
            ประโยชน์สุดท้ายของการใช้ Youtube เป็นด้านข้อมูลในเว็บไซต์กับเหตุการณ์ปัจจุบันทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมป๊อปที่มีการคาดการณ์ได้อย่างง่ายดายบนหน้าแรกของเว็บไซต์และการ เชื่อมโยงเป็นของพวกเขาดูมากที่สุด อายุข้อมูลของศตวรรษที่ยี่สิบได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก YouTube และจะยังคงเป็นเช่นนั้นเป็นเวลาหลายปีมา



การทำงานของ YouTube


วีดีโอแนะนำวิธีการใช้ YouTube
การสมัครเป็นสมาชิกของ YouTube



การ Download วีดีโอจากเว็บ YouTube



การ Upload วีดีโอขึ้นเว็บ YouTube




คู่มือการใช้งาน YouTube

 

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก
ประกาศ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดย อัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจ ประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น เป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็น เครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหก หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้า หน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้า หน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบราย ละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่าง หนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจ ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มี เขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบ วัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่ หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตาม วรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าว ข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจ หน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษา ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพัน บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราช กิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 วีดีโอประกอบ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550



download พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550
************************************************************

พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับย่อ

     พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำลังจะมีการประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 พวกเราเลยต้องมารับรู้กันซะหน่อย ว่าทำอะไรผิดบ้างถึงจะถูกกฎหมายนี้ลงโทษเอาได้ พวกเราจะได้ระวังตัวกัน ไม่เผลอไผลให้อารมณ์พาไปจนทำผิดเน้อะ!!! จะถอดความโดยสรุปเลยก็แล้วกันนะ ว่าทำอะไรผิดแล้วจะโดนลงโทษบ้าง

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอคุก 6 เดือน
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูของเขา  ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
12. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
14. ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (จริงดิ?)กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา ... จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

************************************************************

สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ 9 ข้อ
     
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่นำไปสู่ "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
     1.
อย่าบอก Password ของท่านแก่ผู้อื่น
     2.
อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
     3.
อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
     4.
อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ Password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
     5.
อย่านำ User ID และ Password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
     6.
อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
     7.
อย่ากด "Remember Me" หรือ "Remember Password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า Log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ
     8.
อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
     9.
อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
   
 
-อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น

     
ท่าน ไม่มีทางทราบว่าผู้อื่นจะนำไปใช้งานเข้าสู่ระบบเมื่อใด หรือนำไปใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ หากผู้ที่แอบอ้างเป็นท่านไปกระทำความผิด ตามมาตรา ๕ ถึง ๑๖ ได้ทุกรูปแบบ กว่าท่านจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ตัวท่านทำเอง ชีวิตก็คงจะลำบากไปนาน ทางที่ดี ไม่ต้องบอก password ให้แก่ผู้ใดเลย แล้วอย่าเผลอเขียนลงไปบนกระดาษทีมีคนแอบพบได้ ส่วน User ID อย่างเดียว บางครั้งก็สามารถปิดได้ แต่บ่อยครั้งที่เราต้องใช้ User ID เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่น ให้คนทราบก็ไม่เป็นไร

     
บท แทรก - การกำหนด password ให้เป็นที่จำง่ายหรือเดาง่ายเกินไป ก็เป็นภัยต่อตัวท่านเองได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น โปรดอย่าคิดจะตั้ง password เป็นชื่อลูก ชื่อคนรัก หรือชื่อ...เลี้ยง หรือเลขหมายโทรศัพท์ที่อาจจะมีคนเดาได้ การตั้ง password ไม่ดี เสี่ยงเท่ากับการบอก password ให้แก่ผู้อื่น
 
-อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต

     
ถ้าท่านได้สั่งให้เครื่องจำ user ID และ password เอาไว้เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่ระบบข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สภาพเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากความเสี่ยงข้อแรก คือเท่ากับการบอก password แก่ผู้อื่น แล้วผู้นั้น เอาไปกระทำความผิดได้หลายรูปแบบ
 
-อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงาน โดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ

     
การ ทำเช่นนี้ทำให้คนทั่วไปที่อยู่ริมถนน หรือข้างบ้าน เข้าร่วมใช้ระบบไร้สายของท่านได้ ท่านจะทราบได้อย่างไร คนที่ผ่านหน้าบ้านหรือสำนักงานที่ติด wireless LAN จะไม่ใช่ผู้ร้ายที่อาจจะมาเข้าเน็ตของท่านเพื่อไปกระทำความผิด แล้วเขาก็ลอยนวล
   
-อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
   
     
อันนี้ ถ้าทำไปแล้ว จะผิดตรงๆตามมาตรา ๕ และ อาจจะแถมไปผิดตามมาตรา ๗ ด้วย
   
-อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่

     
อันนี้ ถ้าทำไปแล้ว จะผิดตรงๆตามมาตรา ๖ ครับ
 
-อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย

      "
ผิดกฎหมาย" ได้แก่ กรณีที่ภาพหรือข้อความที่ ลามกอนาจาร ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างปัญหาความมั่นคง ทำให้บุคคลเสียชื่อเสียง/หมิ่นประมาท ฯลฯ) หากท่านได้รับสิ่งเหล่านี้แล้ว โปรดลบทิ้งไปจากความครอบครองของท่าน ถ้าท่านไปส่งต่อให้ผู้อื่น หรือเก็บไว้ในเครื่องของท่าน จะมีความผิดตามมาตรา ๑๔ เอาได้ง่ายๆ
 
-อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
   
     
คอมพิวเตอร์ สาธารณะ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บริการให้กับคนทั่วไป เช่น ในห้องสมุด สนามบิน ร้านกาแฟ ร้านเน็ต ท่านมีความเสี่ยงจากการถูกดักข้อมูล ดักแป้นพิมพ์ และการแอบบันทึก ID และ Password โดยเจ้าของร้าน หรือโดยผู้ใช้ที่เคยแอบมาติดตั้งโปรแกรมร้ายๆในเครื่องนั้น หากพลาดเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่านที่เคยป้อนลงในเครื่องสาธารณะ อาจจะถูกบันทึกและแอบนำไปใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น คอมพิวเตอร์สาธารณะ อาจจะเก็บข้อมูลจอภาพที่ท่านไปชม รวมทั้ง cookies (ข้อมูลที่เว็บไซต์ที่ท่านเข้าไปชมขอฝากไว้ที่เครื่อง PC เพื่อจะได้ว่าหากท่านเข้าไปอีกครั้งจะได้จำได้ ว่าเป็นเครื่องเดิม) ซึ่งล้วนแล้วแต่จะทำให้บุคคลอื่นสามารถปลอมเป็นตัวท่านเวลาเข้าไปในเว็บไซต์ ที่ท่านเคยเยี่ยมได้ทั้งสิ้น
   
     พูด ง่ายๆก็คือ หากท่านยังไม่คล่องเรื่องการระงับการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลใน PC ท่านไม่ควรเข้าไปทำธุรกรรมทางการเงิน ณ เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะที่ไหนเลย ยกเว้นว่าท่านสามารถตรวจการตั้งๆค่าต่างๆของ Windows (Network setting และ IE Setting) อย่างคล่องแคล่ว แม้จะเข้าไปเช็ค email ทาง hotmail หรือ gmail หรือ yahoo เครื่องสาธารณะต่างๆล้วนแล้วแต่จะพร้อม "จดจำ" password ทุกตัวของท่านเพื่อให้เข้าครั้งต่อไปโดยอัตโนมัติทั้งสิ้น คนที่รอใช้เครื่องหลังจากท่านเขามีวิธีการที่จะทราบว่าท่านไปชมเว็บไหนมา บ้าง โดยการกดปุ่ม "Go",ตามด้วย "History" ใน Internet Explorer แล้วเข้าสู่เว็บราวกับเป็นตัวท่านได้เลย
   
-อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล 

     
โปรดระวัง หากท่านคิดจะทำรายการด้านการเงินบนเครื่องประเภทนี้ ข้อมูลที่ควรจะเป็นความลับของท่าน อาจถูกดักรับได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรัศมีคลื่นวิทยุของ WiFi (ราว 8 กิโล line of sight) (โปรดแสวงหา WPA หรือ WEP เพื่อการใช้ระบบเข้ารหัสลับมาตรฐาน ในการเข้าใช้ wireless LAN)
 
-อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

     
การเขียนข่าวลงในเว็บสาธารณะ หรือการส่งข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่ทำให้เกิดการตื่นตระหนกในวงกว้าง ทำภาพตัดต่อที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ไม่ควรทำทั้งสิ้น ในเวลาเดียวกัน การปล่อย userID และ password ให้ผู้อื่นทราบ ก็อาจจะเป็นเหตุให้ท่านเดือดร้อนได้ เพราะหากผู้ที่ทราบไปลงมือกระทำ หรือเอาไปแพร่ต่อให้บุคคลอื่นๆทราบ ความผิดก็จะตกอยู่แก่ท่าน เพราะท่านอาจจะไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นคนกระทำ แค่ปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้ทำอาจจะไม่เพียงพอในการอธิบายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ การสู้คดีในศาล

วีดีโอเกี่ยวกับภัยจากอินเตอร์เน็ต



ผู้ให้บริการ
       ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ "มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษา ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง...ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท" เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษา Traffic data ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกแบบ สามารถทำหน้าที่เก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความจำเป็นขั้นต่ำ ประกาศดังกล่าวนี้ ยังเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดธุรกิจบริการรับฝากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ เพราะจะมีผู้ให้บริการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำตาม พรบ.นี้ได้ด้วยตนเอง
(อาจมีประกาศอื่นตามมาอีก)

หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้
       ในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆดังนี้
ข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่ายทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใดนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง เช่น ที่ NIST (สหรัฐอเมริกา) กรมอุทกศาสตร์ (กองทัพเรือ) สถาบันมาตรวิทยา (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือใช้เทียบเวลากับเครื่อง time server ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เนคเทค (ntp://clock.nectec.or.th) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายทั่วไป รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป สามารถตั้งเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโลกได้ด้วยความแม่นยำในระดับ 1 มิลลิวินาทีหรือดีกว่านี้ข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

ที่มา http://wiki.nectec.or.th

บทลงโทษผู้กระทำความผิด

ฐานความผิด
โทษจำคุก
โทษปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 บาท
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 บาท
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) ไม่มี ไม่เกิน 100,000 บาท
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การกระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน 10 ปี
3 ปีถึง 15 ปี
10 ปีถึง 20 ปี

และไม่เกิน 200,000 บาท
และ60,000-300,000 บาท
ไม่มี
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม) ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท


แหล่งข้อมูล
http://www.ubu.ac.th/law_com/