วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง BLOG

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็น รูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุดบล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่าเพลงหรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อก เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อกโดยสามารถใช้เป็น เครื่องมือสื่อสารการประกาศข่าวสารการแสดงความคิดเห็นการเผยแพร่ผลงานในหลาย ด้านไม่ว่าอาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบันนอกจากนี้ ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้นเพื่อเสนอแนวความ เห็นใหม่ใหักับลูกค้าโดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้นและ ได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
Blogger
สามารถแปลได้ 2 ความหมาย คือ
1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อก เป็นผู้ที่ต้องทำเองทุกอย่างตั้งแต่ เขียนเรื่องจากความรู้ ความชำนาญ หรือค้นคว้าหาข้อมูลมาโพสเป็นเนื้อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่อง หาภาพ หาเพลง หาองค์ประกอบ จัดแต่งหน้าตา Blog ในรูปแบบที่ต้องการ รวมถึงการไปเยี่ยมชม ออกความเห็นตาม blog ต่างๆทั้งของตนเองและเพื่อนบ้าน หรือให้ใครช่วยทำบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตามที ก็ได้ชื่อว่าเป็น Blogger แล้ว
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com โดย Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกในปี 1999 นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บสร้างผลกระทบต่อการเมืองเขย่าวงการสื่อสารมวลชน และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับบุคคลอื่น ณ.ปัจจุบัน Blogger ได้ถูกซื้อไปอยู่ในความครอบครองของ Google เรียบร้อยแล้ว
Blog Editor
เป็นตัวแทนจากเจ้าหน้าที่บริหารระดับหน้าหน้าของเจ้าของพื้นที่ที่ให้บริการกับทีมงาน ที่จะช่วยในการรับสมัคร จัดการ ควบคุมดูแลบริหารให้ข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับการทำBlogการทำกิจกรรม ประชาสัมพันธ์และให้บริการแก่ สมาชิก Blog ทุกราย โดยจะมีกฎ กติกา ตั้งเอาไว้และแจ้งให้สมาชิกทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการสื่อสารระหว่างกันภายในและภายนอก blog และป้องกันการใช้ blog ไปในทางมิชอบ หรือกระทำผิดกฎหมายใดๆที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งหากมีการกระทำผิดจริง ก็จะมีบทลงโทษกันตั้งแต่ระดับย่อมเยา ไปจนถึงขั้นปิด blog ถาวรยกเลิกสถานภาพการเป็นสมาชิก

ผู้ให้กำเนิดบล็อก 


1.1997: Jorn Barger เป็นคนแรกที่ให้กำเนิดคำว่า "Weblog"  
2.1999: Peter Merholz เป็นคนแรกที่แปลงคำว่า "Weblog"  เป็นคำย่อว่า"blog" แทน 
3.1999: Evan Williams เป็นคนแรกที่สร้างเว็บบล็อกแห่งแรกชื่อว่า "Blogger" 
4.2003: Oxford English Dictionary บรรจุคำว่า "blog"

ประเภท Blog
ชนิดของ Blog แบ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของ
Personal Blog เป็นBlog ที่ ใช้เพื่อสนองความต้องการส่วนตัว ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์อาจจะอยู่ในวงแคบๆเพียงแค่เจ้าของบล็อกเองหรือกลุ่ม เครือข่ายที่มีรสนิยมคล้ายคลึงกัน แต่ในบางโอกาสก็อาจสร้างผลกระทบในวงกว้างได้
Business Blog เป็นBlog ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในทางธุรกิจ การค้าขาย ให้บริการ อาจจะถึงขั้นมีการตกลงซื้อขาย ทำรายการชำระเงินกันจริงๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือผลประโยชน์ทางธุรกิจของผู้เป็นเจ้าของ Blog
1)       Single Owner Blog เป็น Blog ที่มีเจ้าของคนเดียว
2)
       Multiple-Owners Blog เป็น Blog ที่มีเจ้าของหลายคน
3)
      Corporate Blog
                ชนิดของบล็อกแบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1.Diary  เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่นิยมทำกันมาก เจ้าของ Blog จะเขียนบันทึกประจำวันในเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง ที่อยากให้คนอื่นรู้แต่ก็ไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดส่วนตัวไปทุกๆเรื่อง เหมือนเป็นการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ระบายความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของเจ้าของ blog
2.General Blog  เป็น Blog ที่ใช้อย่างไม่มีเป้าหมาย หรืออาจมีแต่ไม่ชัดเจนหรือไม่เจาะจง นำเสนอหลายๆด้าน อาจขึ้นอยู่กับความสนใจ ความพอใจของเจ้าของ Blog หรือ ตามกระแส ตามเหตุปัจจุบันทันด่วน เหตุเฉพาะหน้าที่เกิดกับตนเอง ก็ตาม ซึ่งมีข้อดีที่ Blogger ไม่ต้องเครียดในการคิดหาบทความ หาเนื้อเรื่องต่อๆไป เท่าBlogger แบบที่ 2 เพราะ สามารถหยิบเรื่องอะไรก็ได้มาโพส แต่ข้อเสียคือ ไม่มีจุดเด่นให้คนจดจำและเข้ามาอ่านซ้ำ เว้นแต่จะมีลีลาที่น่าติดตามจริงๆ หรือมีเรื่องได้รับการโปรโมท หรือโหวตเป็นเรื่องยอดนิยมก็จะมีคนเข้ามาอ่านแต่เรื่องนั้นๆ
3.Predefined Blog  เป็น Blog ที่ใช้อย่างมีเป้าหมายนำเสนอในเรื่องที่เจ้าของ blog สนใจ มีความรู้ มีความถนัด หรือทำสิ่งนั้นเป็นอาชีพ หรือทำธุรกิจนั้นอยู่แล้ว อาจทำแนววิเคราะห์เจาะลึก ตามติดเหตุการณ์ชนิดรายงานนาทีต่อนาที หรือตามจนกว่าเรื่องจะสิ้นสุด มาเผยแพร่ให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อ่าน ได้ชมได้ฟัง ได้ดู ได้แสดงออกหรือแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น เพื่อให้เป็นการเผยแพร่ความรู้ เพื่อกระจายข่าวสารข้อมูลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นกว่าที่จะให้หล่นหายอยู่ตาม แหล่งข้อมูลที่ไปหยิบเอามา  หรือเพื่อเรียกความสนใจจากผู้คน เป็นไปได้อย่างมากว่า Blogger ที่ทำ Blog ประเภทนี้จะได้รับความเชื่อถือในเรื่องนั้นๆมากเป็นพิเศษ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและความลึกของข้อมูลที่นำมาเสนอ ใครจะรู้ว่า อาจจะมีสปอนเซอร์ของสินค้าที่เกี่ยวกับเรื่องในBlog สนใจมาลงโฆษณาบ้างก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น บรรดาBlog ที่ ให้ความรู้เฉพาะทางด้านต่างๆ เช่น ด้านไอที ด้านสุขภาพ ด้านกีฬา ด้านการเงิน ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาสมอง ดูหมอ วิเคราะห์ข่าว ด้านบันเทิง การ์ตูน นิยาย  เรื่องสั้น เป็นต้น  ซึ่งใน Blog เดียวอาจนำเสนอหลายด้านอย่างจงใจก็เป็นไปได้ แต่ทว่าเนื้อหาแต่ละเรื่องจะแน่นกว่ากลุ่มที่ 2
4.Professional Blog  เป็น Blog ที่ เกิดขึ้นจากผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถในเรื่องหนึ่งสูง เช่นทนายความ แพทย์ โปรแกรมเมอร์ นักการตลาด นักข่าว หมอดู เป็นต้น ส่วนมากเจ้าของ Blog จะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงใน ด้านนั้นๆอยู่แล้ว แต่ก็มีดาวดวงใหม่เกิดขึ้นได้หากว่าสามารถนำเสนอข้อมูลและทำให้เป็นที่สนใจ ของผู้คนออนไลน์ได้ Blog ประเภทนี้จะได้รับความสนใจจากผู้ชม รวมไปถึงสปอนเซอร์มาก อาจเป็น blog ของบุคคลคนเดียว หรือ ขององค์กร ไม่ว่าจะทำBlog แบบให้ทำรายการซื้อขายออนไลน์ได้หรือไม่ แต่สิ่งที่นำเสนอและเป็นจุดแข็งของBlog ก็คือ ความเป็นมืออาชีพ ที่จำเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่จะดึงดูดคนให้เข้ามาเสพจนกลายเป็นลูกค้าขาประจำ
วัตถุประสงค์ของการสร้างบล็อก
วัตถุประสงค์ของการทำ Blog สำหรับ Blogger
1) เพื่อให้ Blog ของ ตนได้รับความสนใจ ซึ่งจะช่วยเป็นสื่อให้สามารถนำเสนอแนวความคิด หรือข้อเสนอของตนเองสู่สาธารณะได้ เช่น ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต่อต้านการทุจริต คอรัปชั่น การนำเสนอข่าวอย่างมีคุณภาพ ต้องการทำนุบำรุงพุทธศาสนา นิยายวิทยาศาสตร์ เพลงเพื่อชีวิต เป็นต้น
2) เพื่อ ให้ตนเองได้รับการยอมรับในด้านต่างๆ เช่น ความน่าเชื่อถือ ความเป็นคนดีมีน้ำใจ ความเป็นคนเก่ง ความเป็นคนกล้า ความเป็นคนมีความยุติธรรม ความเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นคนรอบรู้เฉพาะเรื่องใดๆ ความเป็นนักกวี ความเป็นนักร้อง นักดนตรี ความเป็นคนทันสมัย ความเป็นคนรักประชาธิปไตย ความเป็นคนตลก ความเป็นคนที่น่าคบ เป็นคนน่ารัก มีเสน่ห์ อบอุ่น เจ้าชู้ หน้าตาดี เป็นต้น
3) เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาสัมผัส (อ่าน ดู ฟัง รู้สึก) สิ่งที่นำมาเสนอ
4)  เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการเสพ (มากขึ้น นานขึ้น ลึกขึ้นบ่อยขึ้น)
5)  เพื่อให้เกิดความรู้สึกติดใจ กลับมาอีก จนถึงขั้นเป็นขาประจำ
6)  เพื่อให้เกิดการต่อยอด แบ่งปัน แลกเปลี่ยน รวมกลุ่มทางรสนิยม  เช่น กลุ่มรักภาษาไทย กลุ่มรักการถ่ายภาพ กลุ่มรักกีฬา กลุ่มหัดทำBlog กลุ่มคอการเมือง เป็นต้น
7) เพื่อกระตุ้นให้มีการแสดงออกทางความคิด เกิดการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ขยายผล โต้แย้งในประเด็นต่างๆ
8)  เพื่อให้เกิดการแสดงออก หรือร่วมกิจกรรมใดๆระหว่างกันผ่านทาง Blog เกิดการสร้าง network ภายในชุมชน Blog นั้นๆ
9)  เพื่อให้เกิดความสุขตามที่ปรารถนา ไม่ว่าความสุขนั้นจะมาจากอะไร  เช่น ความต้องการระบาย การอ่านเรื่องคนอื่น การชมภาพสวยๆ การฟังเพลงเพราะๆ การรู้ข้อมูล ข่าวสารหลายด้านมากขึ้น เป็นต้น
10) เพื่อใช้เป็นที่พบปะ พูดคุยกันของครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ต้องอยู่ห่างไกลกัน
11) เพื่อใช้เป็นอนุสรณ์ บันทึกข้อมูล ประวัติศาสตร์ ของสถานที่สำคัญ สถานที่ที่ไปท่องเที่ยว ที่ประทับใจ เป็นต้น
12) เพื่อใช้เป็นที่เก็บประวัติ ความทรงจำ ในเรื่องราวความรักความผูกพัน ความอาลัยของคนในครอบครัว
13) เพื่อ ใช้เป็นสื่อทางการศึกษาของสถาบันการศึกษา ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียน ระหว่างผู้สอน ทั้งโปรแกรมการศึกษา ระเบียบการ ตารางการเรียนการสอน บทเรียน แบบฝึกหัด การส่งรายงานเป็นต้น
14) เพื่อ ฝึกฝนทักษะการเขียน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทักษะการแต่งบล็อก เป็นต้น เหมาะสำหรับเด็ก และ ผู้ที่ไม่สันทัดในเรื่องดังกล่าว
15) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์
16) ใช้เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ การตลาด การขาย สินค้าหรือบริการ
17) ใช้ทำการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการ
18) อื่นๆที่จะมีเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการทางโลกออนไลน์ และการนำไปใช้ได้อีก อย่างที่บางทีเราก็คิดไม่ถึง
วัตถุประสงค์ของการทำ Blog สำหรับผู้ให้บริการ Blog 
1)  เปิดช่องทางการสื่อสารแนวใหม่ (New Media) ขององค์กรกับลูกค้าออนไลน์
2) เปิดช่องทางการสื่อสารออนไลน์ใหม่ให้กับผู้ใช้บริการได้นำไปประยุกต์ใช้ได้เอง
3) ได้สมาชิก Blog เป็นลูกค้าขาประจำ
4) ได้แฟนคลับของ Blogger ดีเด่นดังเป็นลูกค้าประจำ
5) ได้ content ดีมีสาระ จาก Blog คุณภาพทั้งหลาย
6) ได้ ผู้ร่วมปฏิบัติการที่มีศักยภาพ จากการดึงดูดคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีความพยายาม มีความตั้งใจ ที่จะนำเสนอเรื่องราวหลากหลายที่น่าสนใจ เช่น ข่าวท้องถิ่น ข่าวเชิงลึก ข่าวต่างประเทศ เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น
7) ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้อินเตอร์เน็ต ให้มาเป็นลูกค้ามากขึ้น เป็นการขยายฐานลูกค้าแบบไม่มีจำกัด
8) ดึงดูดสปอนเซอร์ มาสนับสนุนค่าใช้จ่ายดำเนินการ
9) ก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสวิวัฒนาการของโลกออนไลน์ ในวงการสื่อสารมวลชน วงการการตลาด วงการบันเทิง วงการแฟชั่น เป็นต้น
10) เพิ่มทางเลือกในการเสพข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
11) ลดภาระ เพิ่มโอกาสในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระมากขึ้น
12) เพื่อสร้างภาพพจน์ ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ การได้รับความยอมรับขององค์กร ส่วนจะเป็นด้านใดก็ต้องมองหาว่าจุดแข็งของชุมชน Blog อยู่ที่ไหนด้วย
13) เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ
การใช้งานบล็อก
ผู้ ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือน การใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้ เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับ ผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลง ทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น
วีดิโอแนะนำการนำบล็อกไปใช้งานในองค์กร


บล็อกซอฟแวร์
บล็อก ซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ใน ด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
ซอฟต์แวร์ ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้เป็นของตนเองติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นจะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ
  • Drupal(PHP/MY SQL)
  • WordPress (PHP/MY SQL)
  • สแลช (Perl)
  • ไลฟ์ไทป์ (PHP/MY SQL)
  • Joomla (PHP/MY SQL)
  • แมมโบ้ (PHP/MY SQL)
    ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก
    รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง
    • blogger (ของ google)
    • ไทป์แพด
    • wordpress
    • YAHOO! 360° หรือ YAHOO!DAY (YAHOO!)
    • windows live space (ไมโครซอฟท์)
    • myspace
    • มัลติไพล

      ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก

      • Blognone (บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีและข่าวไอทีอย่างเดียว)
      • exteen
      • GotoKnow
      • Bloggoo
      • learners.in.th
      • bloggang (ของ pantip.com)
      • OKNation

        ความนิยม
        บล็อก ได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนใน หลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่าย น้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
        จากความนิยมที่มากขึ้นทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

        วีดิโอการสร้างบล็อก

        ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น